คงคุ้นเคยกันมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ ว่าการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะทำให้ร่างกายแข็วแรง แต่เคยรู้ไหมว่าสารอาหารชนิดใดให้พลังงานมากที่สุด วันนี้เราไปลองติดตามกันดีกว่าค่ะ
1. ไขมัน
ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงานถึง 9 กิโลแคลอรี ถือเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุด แต่ร่างกายไม่ได้นำมาใช้เป็นอันดับแรก เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการในร่างกายหลายขั้นตอน แต่ถ้ากล่าวถึงการกักเก็บง่ายและประหยัดพื้นที่ยิ่งกว่า นอกจากนี้การใช้ไขมันเป็นพลังงานจะทำให้ได้ของเสีย คือ คีโตน ซึ่งทำให้ร่างกายมีความเป็นกรดสูง เกิดภาวะที่เรียกว่า อะซิโดซิส ส่งผลต่อการทำงานของตับและไตได้ในระยะยาว ซึ่งมักเกิดในกรณีที่มีการกินแป้งต่ำ และกินโปรตีนและไขมันสูง แต่โดยสรุปแล้วร่างกายก็ยังต้องการไขมันอยู่วันยังค่ำเพื่อช่วยปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล นักโภชนาการจึงได้กำหนดความต้องการไขมันไว้ที่ 30% ของพลังงานที่เราต้องการในแต่ละวัน
2. คาร์โบไฮเดรต
แหล่งพลังงงานสำคัญของร่างกายโดยจะนำมาใช้เป็นอันดับแรก คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ร่างกายจะนำมาใช้ครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลือจะถูกเก็บในรูปของแป้งเรียกว่า ไกลโคเจน และไขมัน โดยไกลโคเจนมักถูกเก็บสะสมไว้ในตับและกล้ามเนื้อ ส่วนไขมันจะถูกเก็บสะสมไว้ในเซลล์ไขมันทั่วร่างกาย
การใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมีข้อดีคือ ได้ของเสียเป็นน้ำ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ร่างกายจึงเลือกที่จะใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานเป็นลำดับแรก นักโภชนาการได้กำหนดสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตไว้ที่ 60% ของพลังงานที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน ดังนั้นหากคุณมีความจำเป็นต้องใช้พลังงานในแต่ละวันมากกว่าปกติ ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้มากกว่าปกติ จะถือเป็นการดีมากเลยทีเดียว
3. โปรตีน
โปรตีนแหล่งพลังงานที่เทียบเท่ากับคาร์โบไฮเดรตโดย 1 กรัมจะให้พลังงานประมาณ 4 กิโลแคลอรี จุดประสงค์หลักจริงๆ ของโปรตีนไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นพลังงาน แต่จะช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอ และเป็นองค์ประกอบของร่างกาย ตลอดจนช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายทำงานได้เป็นปกติ
การรับประทานแต่โปรตีนและหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตเพื่อลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องที่ดี เนื่องจากโปรตีนกับคารโบไฮเดรตมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โปรตีนต้องการคาร์โบไฮเดรตในระดับหนึ่งเพื่อช่วยการนำพาเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ ดังนั้นเมื่อกินโปรตีนเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ ก็ต้องกินคาร์โบไฮเดรตเข้าไปด้วย
ความสำคัญในการเลือกชนิดโปรตีน
โปรตีนจากเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดงมักมีไขมันปนอยู่ด้วย ทำให้เราได้พลังงานจากโปรตีนและไขมันไปพร้อมๆ กัน และอาจได้มากกว่าที่คิด
โปรตีนจากพืชเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการควบคุมการได้รับพลังงานจากไขมันส่วนเกินจากเนื้อสัตว์เช่น โปรตีนจากถั่วเหลืองจะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ และในถั่วเหลืองยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายอยู่หลายชนิดอีกด้วย
Comments